0 Comments

ในปัจจุบันหลายๆ ท่านที่ไม่ได้ทำงานด้านส่งออกสินค้าหรืออยู่ในตลาดอุตสาหกรรมคงไม่ทราบว่า ผู้ส่งของไทยกำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และมาพร้อมกับค่าระวางเรือสูง ซึ่งการส่งออกไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญกับปัญหา Logistic disruption (การขนส่งหยุดชะงัก)  ซึ่งปัญหาดังกล่าวคืออะไร เกิดอะไรขึ้น กระทบต่อผู้ส่งออกไทยมากน้อยแค่ไหน บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านมาพบกับคำตอบกันครับ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำว่า Disruption กันก่อนดีกว่าครับ

คำว่า Disrupt แปลตรงตัวคือ “การหยุดชะงัก” ซึ่งมักถูกใช้ในบริบทของการชักชวนให้มีการ “ปฏิรูป” หรือทำอะไรก็ตาม เพื่อให้เกิดการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ โดยมักจะถูกโยงเข้าสู่เรื่องของเทคโนโลยี เราจึงมักจะเห็นคำว่า Digital Disruption หรือ Disruptive Technology อยู่บ่อยครั้ง แต่ในปัจจุบันนั้นไม่ได้มีเพียงแต่ในด้านของเทคโนโลยีอีกแล้ว ด้านอื่น เช่น การขนส่ง อาชีพต่างๆ หรือแม้กระทั้งรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของทุกๆ คนกำลังเปลี่ยนไปหรือเรียกอีกนัยนึงว่า “New Normal”

ทำไมตู้คอนเทนเนอร์ถึงขาดตลาด?

โควิด-19 คือ สาเหตุหลัก ซึ่งจากข้อมูลสหประชาชาติ ระบุว่า ทั่วโลกมีตู้คอนเทนเนอร์รวมกันประมาณ 180 ล้านตู้ โดยในปี 2019 ท่าเรือเอเชียมีส่วนในการบริหารจัดการถึง 60 % รองลงมาคือ ท่าเรือยุโรป 15 % อเมริกาเหนือ 7% ลาตินอเมริกา 6% และแอฟริกา 4% ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าตู้คอนเทนเนอร์เปล่าทั้งหมดจะอยู่ที่เอเชีย ยุโรป และสหรัฐฯ เป็นหลัก

ผู้ส่งออกไทยได้รับผลกระทบอย่างไร?

ประเทศไทยมีการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ในปี 2562 จำนวน 9.45 ล้านตู้ (ข้อมูลท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือกรุงเทพฯ) แบ่งเป็น ขาเข้า 4.85 ล้านตู้ และขาออก 4.60 ล้านตู้ ทั้งนี้การส่งออกและนำเข้าของไทยปี 2563 มีปริมาณลดลง ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่งผลให้ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ในประเทศเกิดความไม่สมดุล เพราะปริมาณการส่งออกมีมากกว่าการนำเข้า ประกอบกับจีนและเวียดนาม ดึงตู้คอนเทนเนอร์เปล่ากลับประเทศค่อนข้างมาก ทำให้ปัจจุบันผู้ส่งออกไทยเผชิญกับการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และการปรับตัวสูงขึ้นของค่าระวางเรือ รวมถึงต้องจองคิวนานในการส่งออกสินค้า ตามปริมาณเรือบรรทุกที่มีอยู่จำกัด

ค่าระวางเรือคืออะไร?


ค่าระวางเรือ หรือ ค่า Freight ของการขนส่งสินค้าขาเข้าและขาออก ซึ่งการขนส่งสินค้าส่วนใหญ่จะใช้การขนส่งทางทะเลด้วยเรือประเภท Container Ship ซึ่งค่าระวางเรือจะคิดจากภาพร่วมทั้งหมดซึ่งได้แก่
1) Weight Ton คำนวณจากน้ำหนักสินค้าที่บรรทุก
2) Measurement คำนวณจากปริมาตรของสินค้า
3) V (Ad Valorem Goods) คำนวณจาก Degree สินค้ามีราคาสูง ถึงแม้ว่าจะมีปริมาตรน้อย น้ำหนักไม่มาก แต่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ การคิดค่าระวางก็จะคิดเพิ่มอีก 3-5 เท่า ตามมูลค่าสินค้า
4) ค่าระวางพิเศษ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายทั้งหลายที่บริษัทเรือ คิดเพิ่มเติมจากค่าระวางพื้นฐาน

เป็นอย่างไรกันบ้างล่ะครับกับข้อมูลและเกล็ดความรู้เกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ทั่วโลกกำลังเจอกันอยู่ในปัจจุบันเนื่องจาก Covid-19 เห็นได้ว่ากระทบกันไปทุกภาคส่วนจริงๆ นะครับ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยและขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ

Related Posts

รถพ่วง และ ตู้คอนเทนเนอร์ สำคัญฉนัย?

0 Comments

ทุกท่านๆ ที่เดินทางขับรถขับราคงได้เคยเห็นรถพ่วง “เทรลเลอร์” ที่ขนตู้เหล็กขนาดใหญ่ขับไปอย่างช้าๆ ตามท้องถนน ยิ่งท่านไหนที่ทำงานอยู่ใกล้ๆ กับท่าเรือหรือโซนอุตสาหกรรมนั้น ย่อมจะได้เห็นรถพ่วงเหล่านี้มากมายอย่างแน่นอน ซึ่งการขนส่งที่ครอบคลุมทั้งประเทศไทยมากที่สุดนั้นก็คือ การชนส่งทางบกโดยรถบรรทุกและรถพ่วงเทรลเลอร์ในวันนี้เราจะพาทุกๆ…

ทำความรู้จักการขนส่งสินค้าด้วยเรือ

0 Comments

ตั้งแต่สมัยโบราณ การขนส่งทางน้ำเป็นวิธีการขนส่งที่เก่าแก่มีมาอย่างช้านาน ซึ่งการขนส่งนี้จะอาศัยการใช้แม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้า รวมไปถึงการขนส่งทางทะเลซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการขนส่งทางน้ำนั้นนอกจากจะขนได้มากมาย ยังเหมาะสมกับการขนสินค้าที่มีขนาดใหญ่หรือที่ปริมาณมากๆ  อาทิเช่น ทราย แร่ ข้าวเปลือก…

ส่งของไปนราธิวาส

รวมคำถามสุดฮิตที่เกี่ยวกับการ ส่งของไปนราธิวาส

0 Comments

สำหรับคุณผู้อ่านที่อยากจะส่งของไปนราธิวาส และเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับระยะเวลาและค่าใช้บริการของแต่ละรูปแบบ เราก็จะมาตอบคำถาม 3 ข้อที่หลาย ๆ คนต่างสงสัยกันมากที่สุด เกี่ยวกับการ ส่งของไปนราธิวาส ให้คุณได้เข้าใจกันก่อนส่งสินค้าเพื่อความสะดวกและรวดเร็วมากที่สุด…